มะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม คือ มะเร็งอะไร

มะเร็งเต้านม คือ เนื้องอกมะเร็งที่เกิดการแบ่งตัวอย่างผิดปกติบริเวณของเซลล์เต้านมในตำแหน่งหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไปเซลล์มะเร็งจะเริ่มกินเนื้อเยื้อเต้านมปกติข้างเคียง และกระจายไปบริเวณต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ช่วยกรองสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย เมื่อมะเร็งกระจายไปบริเวณต่อมน้ำเหลือง เซลล์มะเร็งจะสามารถแพร่กระจายไปได้ในทุกส่วนของร่างกาย ฉะนั้น ระยะของมะเร็งจึงขึ้นกับการกระจายของโรคร่วมด้วย

พบว่ามีเพียง 5-10% ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเท่านั้นที่ได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาจากบิดามารดา ในขณะที่ 85-90% เกิดจากพันธุกรรมที่เปลี่ยนไปจากอายุที่มากขึ้น ซึ่งเราสามารถทำให้สุขภาพดีได้โดยการ รับประทานอาหารที่สมดุล ควบคุมน้ำหนัก หลีกเลี่ยงการดื่มสุราและสูบบุหรี่ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

 

ข้อมูลจาก สมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย

https://www.thaibreast.org/TH/home.html

โรคมะเร็งเต้านมมีอาการอย่างไร

  1. คลำพบก้อนเนื้อบริเวณเต้านม หรือใต้รักแร้ สามารถทำได้ด้วยตัวเองที่บ้านเป็นประจำ โดยก้อนเนื้อที่พบอาจจะกดเจ็บ หรือไม่เจ็บก็ได้ผู้หญิงทุกคนควรตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือนหลังรอบเดือนหมด ประมาณ 1 สัปดาห์
  2. ขนาดหรือรูปร่างของเต้านมเปลี่ยนไป แม้ปกติเต้านมทั้ง 2 ข้างอาจมีขนาดและรูปร่างที่ต่างกันบ้าง แต่การหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงของเต้านมข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างมีลักษณะผิดปกติไปจากเดิม จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้เท่าทันหากเกิดโรคร้ายตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
  3. ผิวหนังที่เต้านมบุ๋มลงไปคล้ายลักยิ้ม หรือ บวมหนา เหมือนเปลือกส้มรวมถึงสีหรือผิวหนังบริเวณลานหัวนมเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้ละเอียดเนื่องจากอาจเป็นอาการของเซลล์มะเร็งที่ลุกลามมาถึงชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง
  4. มีน้ำเหลือง หรือ ของเหลวไหลออกมาจากหัวนม โดยเฉพาะหากพบว่าน้ำเหลืองหรือของเหลวไหลนั้นมีสีคล้ายเลือด และออกจากหัวนมเพียงรูเดียวควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเต้านมโดยละเอียด
  5. อาการเจ็บผิดปกติที่เต้านม หรือ ผิวหนังของเต้านมอักเสบ หากมีอาการเจ็บเต้านมโดยที่ไม่ใช่ช่วงมีประจำเดือน หรือพบว่าผิวหนังรอบๆ เต้านมบวมแดงอักเสบ โดยเฉพาะเมื่อคลำพบก้อนเนื้อร่วมด้วยอย่าละเลยว่าเป็นเรื่องธรรมดาเด็ดขาด
  6. ผื่นคันบริเวณเต้านมรักษาแล้วไม่หายขาด ผื่นคันอาจเกิดขึ้นที่หัวนมหรือบริเวณเต้าส่วนใหญ่ เริ่มต้นเป็นเพียงผื่นแดงแสบๆ คันๆแม้จะรักษาโดยแพทย์ผิวหนังแล้วยังไม่หายขาดจนกลายเป็นแผลตกสะเก็ดแข็ง ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยมะเร็งเต้านมอีกครั้ง เนื่องจากอาจเกิดจากเซลล์มะเร็งลามขึ้นมาที่ผิวหนังด้านบนบริเวณหัวนมหรือเต้านมแล้ว

 

ข้อมูลจาก สมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย

https://www.thaibreast.org/TH/home.html

ปัจจัยก่อให้เกิดโรคมะเร็งเต้านม

ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถควบคุมได้

  • น้ำหนักตัวที่มากเกิน ไปสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เนื่องจากไขมันในร่างกายจะทำหน้าที่หลักในการสร้างเอสโตรเจนแทนรังไข่ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น
  • การออกกำลังกาย มีการศึกษาว่าการออกกำลังกายตั้งแต่ 45-60 นาที ตั้งแต่ 5 วันขึ้นไปต่อสัปดาห์สามารถลดความเสี่ยงจากการเป็นมะเร็งเต้านมได้
  • การดื่มแอลกอฮอล์ สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม เนื่องจากแอลกอฮอล์ทำให้ความสามารถของตับทำงานได้ลดลง สูญเสียการควบคุมปริมาณเอสโตรเจนในร่างกาย ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งได้
  • การสูบบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยงเล็กน้อยในการเกิดมะเร็งเต้านม
  • ฮอร์โมนเอสโตรเจน เนื่องจากเอสโตรเจนทำหน้าที่กระตุ้นเซลล์เต้านมให้มีการเจริญเติบโต การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลานาน ย่อมมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม เช่น การหลีกเลี่ยงการใช้ฮอร์โมนทดแทนเป็นระยะเวลานาน เป็นต้น
  • ยาคุมกำเนิด การใช้ยาคุมกำเนิดในช่วงเวลาที่จำกัดมีความเสี่ยงในการเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมเพียงเล็กน้อย และพบว่าหากหยุดยาคุมกำเนิดมากกว่า 10 ปี ความเสี่ยงนั้นไม่แตกต่างจากคนปกติ
  • ความเครียดและความวิตกกังวล ไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม แต่การลดความเครียดและทำจิตใจให้สงบสามารถเพิ่มความสามารถของภูมิต้านทานในร่างกายได้

 

ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้

  • เพศ เพศหญิงมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้มากกว่าเพศชาย เนื่องจากเต้านมของเพศหญิงมีการเปลี่ยนแปลงและมีการเติบโตตลอดเวลา ซึ่งเป็นผลมาจากฮอร์โมนอเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน
  • อายุ อายุที่มากขึ้นย่อมมีโอกาสมากขึ้นที่จะเป็นมะเร็งเต้านม หากคุณอายุระหว่าง 30-39 ปี มีโอกาส 1 ใน 228 หรือ 0.44 % ที่จะเป็นมะเร็งเต้านม และความเสี่ยงจะเพิ่มเป็น 1 ใน 29 หรือ 3.5% เมื่อคุณอายุ 60 ปี
  • พันธุกรรมในครอบครัว หากพบว่ามีญาติสายตรง (เช่น บิดา มารดา พี่ น้อง ลูกสาว) ที่เป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งรังไข่ก่อนอายุ 50 ปี คุณจะมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นมะเร็งเต้านม
  • การสูบบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยงเล็กน้อยในการเกิดมะเร็งเต้านม
  • ฮอร์โมนเอสโตรเจน เนื่องจากเอสโตรเจนทำหน้าที่กระตุ้นเซลล์เต้านมให้มีการเจริญเติบโต การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนเป็นเวลานาน ย่อมมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม ซึ่งบางปัจจัยสามารถที่จะควบคุมได้ เช่น การหลีกเลี่ยงการใช้ฮอร์โมนทดแทนเป็นระยะเวลานาน การควบคุมน้ำหนักให้อยู่เกณฑ์ หรือการหลีกเลี่ยงการดื่มสุรา
  • ยาคุมกำเนิด การใช้ยาคุมกำเนิดในช่วงเวลาที่จำกัดมีความเสี่ยงในการเพิ่มโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมเพียงเล็กน้อย และพบว่าหากหยุดยาคุมกำเนิดมากกว่า 10 ปี ความเสี่ยงนั้นไม่แตกต่างจากคนปกติ
  • ความเครียดและความวิตกกังวล ไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านม แต่การลดความเครียดและทำจิตใจให้สงบสามารถเพิ่มความสามารถของภูมิต้านทานในร่างกายได้

ข้อมูลจาก สมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย

https://www.thaibreast.org/TH/home.html

โรคมะเร็งเต้านมมีกี่ระยะ

ระยะของมะเร็งนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้องอก เช่น ขนาด หรือตัวรับฮอร์โมน รวมไปถึงการแพร่กระจายไปบริเวณต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะอื่นๆ การทราบระยะของโรค จะทำให้สามารถวางแผนการรักษา รวมไปถึงการทำนายผลการรักษาได้ โดยระยะของมะเร็งมีตั้งแต่ระดับ 0-4 โดยระยะ 0 คือมะเร็งที่เซลล์มะเร็งยังอยู่เฉพาะภายในท่อน้ำนม ในขณะที่ระยะ 4 คือการที่มะเร็งลามไปยังอวัยวะอื่น

 

ข้อมูลจาก สมาคมโรคเต้านมแห่งประเทศไทย

https://www.thaibreast.org/TH/home.html

วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

ขั้นตอนที่ 1 การมองหาสิ่งผิดปกติบริเวณเต้านมโดยยืนหน้ากระจก

 

  • ยืนตรงแขนชิดลำตัว มองเปรียบเทียบเต้านมทั้งสองข้าง
  • เพื่อมองหาสิ่งผิดปกติ โดยดูขนาด รูปร่างรอยบุ๋ม รอยย่น รวมทั้งดูสีของผิวหนังและบริเวณปานนม
  • ยกแขนขึ้นทั้ง 2 ข้างเหนือศีรษะ ดูเต้านมทั้งสองข้าง เหมือนขั้นแรก ร่วมกับการขยับแขนขึ้น - ลง
  • วางมือบนเอวทั้งสองข้างกดและปล่อยร่วมกับการเกร็งกล้ามเนื้อ หน้าอกสังเกตดูความปกติบริเวณเต้านมทั้งสองข้าง
  • อย่าลืม บีบหัวนมเพื่อดูว่ามีน้ำเลือด หรือน้ำเมือกที่ผิดปกติออกจากหัวนมหรือไม่และควรรีบพบแพทย์เมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้น

 

ขั้นตอนที่ 2 การตรวจเต้านม

 

เนื้อเยื่อของเต้านม (Breast Tissue) ได้แก่ ต่อมน้ำนมและท่อน้ำนมจะอยู่ในบริเวณที่แสดงให้เห็นดังนั้น การตรวจเต้านมจึงต้องตรวจให้ครอบคลุมบริเวณดังกล่าวการสัมผัส ควรทำทั้งในท่านั่งและท่านอน โดยใช้ด้านฝ่ามือของนิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนางบริเวณค่อนไปทางปลายนิ้วเนื่องจากเป็นตำแหน่งที่ไวต่อการสัมผัส

 

การคลำเต้านมจะต้องคลำให้ทั่วทั้งพื้นที่ของเต้านมในระดับความแรง 3 ระดับ คือ

 

  • ระดับตื้นลงไปจากผิวหนังเล็กน้อย
  • ระดับที่ลึกลงไป
  • ระดับที่ลึกถึงผนังหน้าอก

 

โดยทิศทางในการคลำสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งสามารถเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้ 3 สัมผัส

 

  • สัมผัสแบบก้นหอย
  • สัมผัสแบบรูปลิ่ม
  • สัมผัสขึ้น – ลง

 

วิธีการคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมด้วยเครื่องมือ/เทคโนโลยีการตรวจรักษา

การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม

  • เป็นวิธีการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่ได้รับการยอมรับว่าดีที่สุด สามารถลด อัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมได้ เป็นการตรวจเอกซเรย์เต้านมโดยใช้เครื่องมือเฉพาะ
  • กดเต้านมให้แบนราบมากที่สุดและถ่ายภาพเต้านมข้างละ 2 ท่า อาจมีการทำอัลตราซาวด์เพิ่ม เพื่อช่วยในการวินิจฉัยหรือยืนยันว่าสิ่งที่พบผิดปกติในแมมโมแกรม ซึ่งจะช่วยให้การวินิจฉัย
  • มีความถูกต้องแม่นยำมากขึ้น แนะนำให้สตรีอายุ 40 ปี ขึ้นไปตรวจแมมโมแกรมทุก 1-2 ปีสตรีที่มีความเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านมมากกว่าสตรีทั่วไป

การตรวจเต้านมด้วย MRI (ภาพสะท้อนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า)

เนื่องจากการตรวจ MRI มีราคาแพง ปัจจุบันแนะนำให้ทำ MRI ร่วมกับแมมโมแกรม เฉพาะในผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติของยีน BRCA ตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไปหรือ เคยมีประวัติได้รับการฉายรังสีปริมาณสูงบริเวณหน้าอกตั้งแต่อายุน้อยสรุปแนวทางการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมสำหรับสตรีไทย

  • การทำแมมโมแกรม โดยแนะนำให้เริ่มทำตั้งแต่อายุ 40 ปี โดยทำทุก 1 ปี
  • การตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการอบรมด้าน
  • การตรวจเต้านมแนะนำให้ เริ่มเมื่ออายุ 40 ปี โดยตรวจทุก 1 ปี
  • การตรวจเต้านมด้วยตนเอง เริ่มตรวจตั้งแต่อายุ 20 ปีเป็นต้นไป
  • โดยตรวจทุกเดือน

 

CHULA CANCER รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา

https://www.chulacancer.net/

วิธีการรักษาโรคมะเร็งเต้านม

การผ่าตัด

  • การผ่าตัดแบบสงวนเต้านม
  • การผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมด
  • การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านม
  • การผ่าตัดเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้
  • การผ่าตัดเต้านมออกทั้งหมดเพื่อลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม

รังสีรักษา

การรักษาโดยการใช้รังสี หรือ “รังสีรักษา” เป็นการรักษาโดยใช้รังสีพลังงานสูงในการกำจัดเซลล์มะเร็ง เพื่อให้ก้อนเนื้องอกมีขนาดเล็กลง การรักษาโดยการใช้รังสีนั้นไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด แต่อาจจะมีการระคายเคืองบริเวณผิวหนังที่ได้รับรังสีได้บ้าง ในการใช้รังสีรักษาในมะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้นนั้น มักทำหลังจากการผ่าตัดเพื่อเอาก้อนเนื้อออกไปแล้ว การฉายรังสีซ้ำ ก็เพื่อกำจัดเซลล์มะเร็งที่อาจจะหลงเหลืออยู่หลังจากการผ่าตัด และเพื่อลดอัตราการเกิดซ้ำของโรคมะเร็งเต้านม

 

ยาเคมีบำบัด

ยาเคมีบำบัดทำหน้าที่ป้องกันการแบ่งตัว และยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง โดยกลไกการออกฤทธิ์ของยาเคมีบำบัดสามารถใช้ได้กับมะเร็งเต้านมลุกลามทุกระยะ แต่การการออกฤทธิ์ของยาก็อาจจะเกิดผลกระทบต่อเซลล์ปกติในร่างกายได้เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์ที่มีการแบ่งตัวรวดเร็ว อาทิ เส้นผม เล็บ เยื่อบุช่องปาก เยื่อบุทางเดินอาหาร ไขกระดูก (สร้างเซลล์เม็ดเลือด) และเกิดเป็นอาการข้างเคียงในระหว่างที่รักษาขึ้นได้

 

การรักษาแบบมุ่งเป้า

การรักษาแบบมุ่งเป้า คือ วิธีการรักษามะเร็งชนิดหนึ่ง ที่กำหนดเป้าหมายการรักษาตรงไปที่เซลล์มะเร็ง การรักษาชนิดนี้จะทำลายแต่เพียงเซลล์มะเร็งเท่านั้น แต่จะไม่ทำอันตรายเซลล์ปกติ การรักษาชนิดนี้สามารถทำงานด้วยตัวเองหรือสามารถททำการรักษาควบคู่ไปกับการรักษาชนิดอื่นๆ เช่นอย่างเคมีบำบัด (ทั้งแบบดั้งเดิมหรือแบบมาตรฐาน)

 

การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด

ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของมนุษย์เป็นการทำงานร่วมกันของ อวัยวะ เนื้อเยื่อและเซลล์ต่างๆ ในร่างกายหลายชนิด มีหน้าที่ในการป้องกันสิ่งแปลกปลอมที่จะก่อให้เกิดโรคต่างๆ ต่อร่างกาย เมื่อร่างกายเกิดความผิดปกติ เช่น การเกิดโรค หรือเกิดการติดเชื้อ (ทั้งแบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส และปรสิตอื่นๆ) เมื่อสิ่งแปลกปลอมดังกล่าวเข้ามาในร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันจะถูกกระตุ้นให้มีการจัดการสิ่งแปลกปลอมนั้น เพื่อป้องกันหรือลดความรุนแรงโรคที่จะเกิดขึ้นกับร่างกาย

การรักษาโดยภูมิคุ้มกันบำบัด เป็นการใช้ยาที่ส่งเสริมให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ยาที่ใช้ในกลุ่มนี้ได้มาจากทั้งการสกัดภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นและสังเคราะห์ขึ้นในห้องทดลอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพภูมิคุ้มกัน ออกฤทธิ์โดยการ: • หยุดหรือยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็ง • ป้องกันไม่ให้เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปส่วนอื่นของร่างกาย • ช่วยให้ร่างกายกำจัดเซลล์มะเร็งได้ดีขึ้น

 

ข้อมูลจาก CHULA CANCER รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา

https://www.chulacancer.net/

การป้องกันโรคมะเร็งเต้านม

  • ตรวจเช็กมะเร็งเต้านมทุกปื
  • คุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์
  • เลือกกินอาหารที่ดีมีประโยชน์
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ห่างสารพิษเข้าร่างกาย
  • เสริมวิตามินลดเสี่ยง

 

โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพวัฒโนสถ

https://www.wattanosothcancerhospital.com/