มะเร็งกระเพาะอาหาร

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร คือ มะเร็งอะไร

โรคกระเพาะอาหาร คือ ความผิดปกติของเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหารมีการแบ่งจำนวนมากขึ้นอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดเป็นมะเร็งขึ้นมา โดยสามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของกระเพาะอาหาร และสามารถกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ ตับอ่อน ลำไส้ ปอด และรังไข่ รวมถึงต่อมน้ำเหลือง ซึ่งมีบางตำแหน่งที่สามารถรักษาให้หายขาดได้

ปัจจัย / สาเหตุก่อให้เกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

  1. อายุ เมื่ออายุมากขึ้นจะมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้น
  2. เพศ เพศชายมีโอกาสเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าเพศหญิง 2 เท่า
  3. ประวัติครอบครัวเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
  4. เชื้อชาติ พบในคนเอเชียได้มากกว่าชนชาติผิวขาวกลุ่มประเทศยุโรปและอเมริกา
  5. อาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทหมักดอง ตากเค็ม รมควัน อาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้มากขึ้น การรับประทานผักและผลไม้สดอาจช่วยลดความเสี่ยงลงได้
  6. การติดเชื้อแบคทีเรียHelicobacter pylori ซึ่งเป็นเชื้อที่สามารถทำให้เกิดการอักเสบและแผลในกระเพาะอาหารได้ และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้มากขึ้น
  7. เคยได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหารหรือมีโรคประจำตัว เช่น โรคโลหิตจางบางชนิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรังมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารสูงขึ้น
  8. อาชีพ โดยเฉพาะอาชีพที่ต้องสัมผัสกับฝุ่นและสารเคมีบางชนิดก่อให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้น
  9. พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ค่อยรับประทานผักและผลไม้
  10. ภาวะอ้วน ผู้ชายที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน มีโอกาสเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารมากขึ้น แต่ในเพศหญิงยังไม่มีหลักฐานความสัมพันธ์ ระหว่างความอ้วนกับการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร
  11. ผู้ที่มีเลือดกรุ๊ป A มีความเสี่ยงมากกว่ากรุ๊ปอื่น 20%
  12. ผู้ที่เคยได้รับการผ่าตัดกระเพาะอาหาร

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร มีอะไรบ้าง

  • รู้สึกอาหารไม่ย่อยหรือรู้สึกไม่สบายท้อง
  • ท้องอืดหลังรับประทานอาหาร
  • คลื่นไส้เล็กน้อย
  • ไม่อยากรับประทานอาหาร
  • มีอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการลุกลามขึ้น อาจมีอาการดังต่อไปนี้
  • รู้สึกไม่สบายท้องโดยเฉพาะช่องท้องบริเวณส่วนบนและตรงกลาง
  • มีเลือดปนในอุจจาระ
  • อาเจียน โดยอาจมีอาเจียนเป็นเลือดได้
  • น้ำหนักตัวลดลง
  • ปวดท้องหรือท้องอืดหลังรับประทานอาหาร
  • อ่อนเพลีย

โรคมะเร็งกระเพาะอาหารมีกี่ระยะ

1. ระยะของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารและการรักษา การรักษามะเร็งกระเพาะอาหารขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของก้อนเนื้อร้าย การกระจายไปอวัยวะอื่นๆ หรือไม่ และสุขภาพทั่วไปของผู้ป่วย คณะแพทย์ซึ่งประกอบ ด้วยแพทย์ระบบทางเดินอาหาร ศัลยแพทย์แพทย์ และแพทย์รังสีรักษา ทำการปรึกษาร่วมกันเพื่อวางแผนการรักษาที่ดีที่สุด

 

2. มะเร็งระยะเริ่มแรก (early gastric cancer) หมายถึง มะเร็งที่อยู่เฉพาะชั้นเยื่อบุส่วนบนของกระเพาะอาหาร โดยทั่วไปมักจะไม่มีอาการ แต่ตรวจพบจากการทำการตรวจส่องกล้องสำหรับการตรวจสุขภาพ

วิธีการคัดกรองโรคมะเร็งอาหาร

การซักประวัติและการตรวจร่างกาย

 

1. การกลืนแป้งสารทึบแสง เป็นวิธีการตรวจโดยให้ผู้ป่วยกลืนน้ำที่ผสมด้วยสารทึบแสงคล้ายแป้ง ซึ่งจะไปเคลือบหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก และทำการถ่ายภาพเอกซเรย์เป็นระยะๆ ทำให้สามารถมองเห็นก้อนเนื้อหรือความผิดปกติอื่นๆ ได้

 

2. การส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น เพื่อทำการตรวจประเมินรอยโรคภายในกระเพาะอาหาร หากตรวจพบสิ่งผิดปกติหรือสิ่งที่น่าสงสัยสามารถตัดชิ้นเนื้อเพื่อนำไปตรวจสอบต่อไปได้

 

3. การตรวจระบบทางเดินอาหารโดยการส่องกล้องที่ติดอัลตราซาวนด์ จะช่วยให้แพทย์ทราบความลึกของมะเร็งกระเพาะอาหารหรือการกระจายไปยังอวัยวะใกล้เคียงของมะเร็ง

 

4. การเอกซเรย์ปอด เพื่อตรวจความผิดปกติในช่องปอดและการแพร่กระจายของโรคไปในปอด

 

5. การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ซึ่งจะแสดงภาพอวัยวะภายในแบบสามมิติ ช่วยให้แพทย์สามารถเห็นตำแหน่งของโรคและการกระจายของโรคได้ละเอียดมากกว่าการเอกซเรย์ธรรมดา

วิธีการรักษาโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

การรักษามะเร็งกระเพาะอาหาร จะอาศัยทีมแพทย์ในสาขาต่างๆ เช่น ศัลยแพทย์ รังสีแพทย์ และอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมะเร็ง มาร่วมกันวางแผนการรักษาที่ดีที่สุดและเหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกวิธีการรักษาของแพทย์ เช่น

 

  • ขนาด ตำแหน่ง และลักษณะของเซลล์มะเร็ง
  • ระยะโรคและการกระจายของมะเร็ง
  • สุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย

 

แนวทางการรักษา แบ่งเป็น 4 ส่วนใหญ่ ดังนี้

 

1. การผ่าตัด

2. เคมีบำบัด

3. รังสีรักษา

4. การส่องกล้องกระเพาะอาหาร

การเตรียมตัวตรวจโรคมะเร็งกระเพาะ

ผู้ป่วยต้องงดอาหารและน้ำอย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมง โดยการตรวจโดยทั่วไปใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที ซึ่งแพทย์จะมีวิธีทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บระหว่างการส่องกล้อง ตั้งแต่การพ่นยาชาที่คอ เพื่อให้ในบริเวณคอไม่มีความรู้สึกก่อน จึงเริ่มส่องกล้องได้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยหลายคนแม้ในคออาจชาแล้ว แต่อาจยังรู้สึกหวาดเสียวบ้าง ทีมวิสัญญีแพทย์ก็จะให้ยานอนหลับที่ออกฤทธิ์สั้น เพื่อให้ผู้ป่วยหลับในระยะสั้นๆ ระหว่างการตรวจ