VITAL BEAM เครื่องฉายรังสีพลังงานสูงเพื่อผู้ป่วยมะเร็ง

Responsive image

รู้จักเครื่องฉายรังสี Vital Beam

     เครื่องฉายรังสี Vital Beam เป็นนวัตกรรมเครื่องฉายรังสีที่ใช้กระแสไฟฟ้าผลิตรังสีเอกซ์พลังงานสูงเพื่อให้ฉายรังสีแบบเจาะจงไปที่ตำแหน่งเซลล์มะเร็ง ทำลายก้อนมะเร็ง ในขณะที่เนื้อเยื่อข้างเคียงได้รับผลกระทบน้อยที่สุด จึงให้คุณภาพการรักษาสูงต่อผู้ป่วย

 

การทำงานของ Vital Beam

ลักษณะการทำงานของเครื่องฉายรังสี Vital Beam ประกอบไปด้วย

  • ใช้ระบบ Guide Workflow โดยมีระบบควบคุมเครื่องฉายรังสี คือ Control Console, Hand Pendant และระบบควบคุมเตียง รวมถึงการ Set Up ค่าต่าง ๆ ที่มีความทันสมัย มีสัญญาณในการบอกลำดับขั้นตอนต่าง ๆ ในการใช้งาน ทำให้มีความสะดวกสำหรับผู้ป่วย

  • มีจุดเด่นด้านการถ่ายภาพ สามารถตรวจสอบความถูกต้องของตำแหน่งที่จะให้การรักษา ช่วยให้ทำการรักษาได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยมีระบบตรวจสอบตำแหน่งการรักษาก่อนการฉายรังสีหลายรูปแบบ คือ kV, MV, Fluoroscopy, CBCT เนื่องจากมีโหมดการถ่ายภาพที่ควบคุมการทำงานแบบอัตโนมัติ สามารถถ่ายภาพระหว่างที่ผู้ป่วยรับการฉายรังสีเพื่อตรวจสอบว่าตำแหน่งถูกต้องหรือไม่ระหว่างการรักษา และเชื่อมต่อกับระบบตรวจสอบตำแหน่งการรักษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยมากขึ้น สามารถรองรับเทคนิคฉายรังสีที่ทันสมัยได้ทั้ง IMRT, VMAT หรือ RapidArc

  • รองรับการรักษาร่วมกับระบบ Respiratory Gating  คือการฉายรังสีโดยมีระบบตรวจสอบตำแหน่งรอยโรคที่ใช้การตรวจจับสัญญาณจากการหายใจ เพื่อให้การรักษาในบริเวณที่มีรอยโรคอยู่ในอวัยวะที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา

 

จุดเด่นของ Vital Beam

แพทย์และเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลการรักษาสามารถตรวจสอบตำแหน่งการรักษาและทำ Online Image Approval ที่ Treatment Console ได้ เพื่อเป็นการยืนยันตำแหน่งการรักษาที่ถูกต้องก่อนเริ่มการฉายรังสี

  • เครื่องฉายรังสี Vital Beam รองรับพลังงานได้หลายระดับ จึงเลือกพลังงานให้เหมาะกับความจำเป็นทางการแพทย์และเหมาะกับแต่ละแผนการรักษาของผู้ป่วยแต่ละราย

  • เครื่องฉายรังสี Vital Beam ใช้กับเทคนิคการรักษาที่ซับซ้อนได้ เนื่องจากเป็นเครื่องที่มีฟังก์ชันการใช้งานที่ทันสมัย หลากหลาย และปรับเปลี่ยนได้ จึงเลือกกำหนดฟังก์ชันต่าง ๆ ตามความจำเป็นในการใช้งาน และตามความเหมาะสมของการรักษาได้เป็นอย่างดี

  • อวัยวะที่ติดกับก้อนมะเร็งและอวัยวะข้างเคียงได้รับผลกระทบจากปริมาณรังสีลดลง โอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ำ

  • ใช้เวลาในการฉายรังสีน้อยลงเหลือเพียง 3 – 5 นาที สะดวกรวดเร็ว ลดอาการปวดเมื่อยจากการนอนเป็นเวลานาน

 

      เป้าหมายของการฉายรังสีคือเพื่อรักษาให้ผู้ป่วยมะเร็งหายจากโรคหรือประคับประคองให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นนอกจากความพร้อมทางร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย ลักษณะและความรุนแรงของโรคมะเร็ง ความชำนาญของทีมแพทย์ เครื่องมือและเทคโนโลยีที่นำมาใช้มีความสำคัญ เพราะช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จของการรักษาและลดผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยให้น้อยที่สุด

ing

เครื่องเร่งอนุภาค Linear Accelerator (LINAC)

เครื่องเร่งอนุภาค LINAC สามารถให้การรักษาได้ด้วยเทคนิคแบบมาตรฐาน (Conventional Therapy) และเทคนิคแบบความถูกต้องชัดเจนสูง 3D-CRT (Three Dimensions Conformal Radiation Therapy) หรือ IMRT (Intensity Modulated Radiation Therapy) ซึ่งสามารถรักษาได้ทุกส่วนของร่างกาย

ing

เครื่องฉายรังสี Volumetric Modulated Arc Therapy

การฉายรังสีแบบ VMAT สามารถลดระยะเวลาในการฉายรังสีในแต่ละครั้งลง 2 – 8 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคการฉายรังสีในปัจจุบันทั่วไป หากเปรียบเทียบกับเทคนิคการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม (IMRT) ในปัจจุบันพบว่า ผู้ป่วยต้องนอนฉายรังสีนานประมาณ 15 – 30 นาที แต่ด้วยเทคนิค VMAT สามารถฉายรังสีให้เสร็จสิ้นในเวลาเพียง 3 – 5 นาที ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องนอนบนเตียงนาน ยังเป็นการลดความผิดพลาดอันเกิดจากการขยับตัวของผู้ป่วย (Motion Error) หรือการขยับตำแหน่งของอวัยวะภายในร่างกาย ลดผลข้างเคียงต่าง ๆ ของผู้ป่วยได้ ทั้งยังเพิ่มความสะดวกสบายและประหยัดเวลาในการรักษาของผู้ป่วย นอกจากนี้การรับรังสีน้อยลงยังส่งผลให้ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนของอวัยวะข้างเคียงอีกด้วย

ing

เครื่องฉายรังสี EDGE มิติใหม่ รังสีศัลยกรรม

รังสีศัลยกรรม คือ การรักษาก้อนเนื้องอก โดยการให้รังสีปริมาณสูงไปทำลายเซลล์มะเร็งได้อย่างถูกต้องตรงตามตำแหน่ง โดยใช้เวลาในการรักษาในระยะเวลาสั้นเพียง 1 – 5 ครั้งเท่านั้น (ปกติการรักษาด้วยรังสีรักษาทั่วไปจะใช้เวลาในการรักษานานหลายสัปดาห์) โดยลำรังสีจะไปทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรง มีผลกระทบต่อเนื้อเยื่อปกติบริเวณข้างเคียงน้อย เมื่อเซลล์มะเร็งได้รับรังสีปริมาณสูง ทำให้ความสามารถในการเพิ่มจำนวนเซลล์มะเร็งถูกทำลายและตายไปในที่สุด การรักษาด้วยรังสีศัลยกรรมอาจใช้การฉายรังสีเพียงครั้งเดียว หรือหลายครั้ง (ส่วนใหญ่ไม่เกิน 5 ครั้ง) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และตำแหน่งของมะเร็ง ขณะเดียวกันรังสีศัลยกรรมอาจไม่เหมาะกับเนื้องอกหรือมะเร็งบอกชนิด