เครื่องเร่งอนุภาค Linear Accelerator (LINAC)

Responsive image

เกี่ยวกับ LINAC

เครื่องเร่งอนุภาค LINAC เป็นเครื่องฉายรังสีที่ใช้กระแสไฟฟ้าในการผลิตรังสีเอกซเรย์พลังงานสูง โดยสามารถแบ่งระดับพลังงานของรังสีเอกซ์ได้เป็น 2 ระดับ คือ

  1. พลังงาน 6 MV เหมาะสำหรับในส่วนของรอยโรคที่ลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร

  2. พลังงาน 6 MV เหมาะสำหรับในส่วนของรอยโรคที่ลึกไม่เกิน 10 เซนติเมตร

 

     โดยที่เครื่องเร่งอนุภาค LINAC สามารถให้การรักษาได้ด้วยเทคนิคแบบมาตรฐาน (Conventional Therapy) และเทคนิคแบบความถูกต้องชัดเจนสูง 3D-CRT (Three Dimensions Conformal Radiation Therapy) หรือ IMRT (Intensity Modulated Radiation Therapy) ซึ่งสามารถรักษาได้ทุกส่วนของร่างกาย

 

กลุ่มผู้ป่วยที่รักษาด้วยเครื่องฉายรังสี LINAC

ข้อบ่งชี้กลุ่มผู้ป่วยที่รักษาด้วยเครื่องฉายรังสี LINAC

  • กลุ่มโรคเนื้องอกในสมองส่วนต่าง ๆ

  • กลุ่มโรคมะเร็งที่แพร่กระจายมาสู่สมองหรือกลับมาเป็นใหม่

  • มะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ

  • โรคมะเร็งของกระดูกสันหลัง ต่อมลูกหมาก และปอด

  • เนื้องอกที่อยู่ในตำแหน่งใกล้กับอวัยวะที่ไวต่อรังสี ซึ่งจะเกิดอันตรายถ้าใช้เทคนิคการรักษาแบบเก่า

 

การปฏิบัติตัวก่อนฉายรังสี

  • ระมัดระวังอย่าให้เส้นลบ ถ้าเส้นลบให้แจ้งเจ้าหน้าที่ทันทีที่มารับการฉายในวันถัดมา

  • หลีกเลี่ยงการใช้ครีมหรือยาทาผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี

  • การทำความสะอาดร่างกาย แนะนำให้อาบน้ำได้ปกติ แต่ต้องระวังไม่ขัดถูขี้ไคลหรือใช้สบู่ถูบริเวณที่ฉายรังสี

  • ห้ามวางกระเป๋าน้ำร้อนหรือน้ำเย็นบริเวณที่ฉายรังสี

  • ป้องกันการระคายเคืองต่อผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี โดยไม่ใส่เสื้อผ้าที่คับ หรือเนื้อผ้าหยาบกระด้าง หรือใช้เครื่องผูกรัด

  • ห้ามใช้แป้งทาบริเวณที่ฉายรังสี เนื่องจากแป้งอาจมีโลหะหนักผสมอยู่ เมื่อฉายรังสีจะทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อผิวหนังรุนแรง

  • หลีกเลี่ยงการโกนขนหรือผมบริเวณที่ฉายรังสี เพราะอาจทำให้เกิดแผล

 

ผลข้างเคียงจากการฉายรังสี LINAC

  • การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี เมื่อฉายได้ 1 – 2 สัปดาห์ ผิวหนังอาจมีลักษณะบวม แดง แห้ง เป็นขุย คัน และอาจลอกหรือตกสะเก็ดได้

  • อาการอ่อนเพลียเป็นอาการปกติที่อาจพบได้ระหว่างการฉายรังสี ซึ่งอาจเกิดจากการรับประทานอาหารได้น้อยหรือเบื่ออาหาร

  • ความต้านทานโรคต่ำ ซีด และเลือดออกง่าย ซึ่งเกิดจากการฉายรังสีที่เข้าไปกดการทำงานของไขกระดูก ซึ่งมักจะเกิดจากการฉายบริเวณที่มีการสร้างเม็ดเลือดมาก เช่น กระดูกอุ้งเชิงกราน กระดูกซี่โครงและหน้าอก เฝ้าระวังโดยการเจาะเลือดดู CBC

  • การเกิดภาวะแทรกซ้อนเฉพาะที่ เช่น การเกิด Mucositis, Diarrhea

  • อาการปากแห้ง กรณีฉายบริเวณศีรษะ ลำคอ และต่อมน้ำลาย

  • อาการทางระบบทางเดินอาหาร กรณีฉายรังสีบริเวณช่องท้อง

  • อาการทางสมอง กรณีมีการฉายบริเวณศีรษะ ซึ่งอาจเกิดสมองบวมได้

  • อาการของอวัยวะสืบพันธ์ุ กรณีมีการฉายรังสีบริเวณอุ้งเชิงกราน เช่น ในเพศชายอาจเกิดการไม่แข็งตัวของอวัยวะเพศ ส่วนเพศหญิงอาจเกิดการตีบตันของช่องคลอด และการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

ing

VITAL BEAM เครื่องฉายรังสีพลังงานสูงเพื่อผู้ป่วยมะเร็ง

รู้จักเครื่องฉายรังสี Vital Beam เครื่องฉายรังสี Vital Beam เป็นนวัตกรรมเครื่องฉายรังสีที่ใช้กระแสไฟฟ้าผลิตรังสีเอกซ์พลังงานสูงเพื่อให้ฉายรังสีแบบเจาะจงไปที่ตำแหน่งเซลล์มะเร็ง ทำลายก้อนมะเร็ง ในขณะที่เนื้อเยื่อข้างเคียงได้รับผลกระทบน้อยที่สุด จึงให้คุณภาพการรักษาสูงต่อผู้ป่วย

ing

เครื่องฉายรังสี Volumetric Modulated Arc Therapy

การฉายรังสีแบบ VMAT สามารถลดระยะเวลาในการฉายรังสีในแต่ละครั้งลง 2 – 8 เท่า เมื่อเปรียบเทียบกับเทคนิคการฉายรังสีในปัจจุบันทั่วไป หากเปรียบเทียบกับเทคนิคการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม (IMRT) ในปัจจุบันพบว่า ผู้ป่วยต้องนอนฉายรังสีนานประมาณ 15 – 30 นาที แต่ด้วยเทคนิค VMAT สามารถฉายรังสีให้เสร็จสิ้นในเวลาเพียง 3 – 5 นาที ซึ่งนอกจากจะทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องนอนบนเตียงนาน ยังเป็นการลดความผิดพลาดอันเกิดจากการขยับตัวของผู้ป่วย (Motion Error) หรือการขยับตำแหน่งของอวัยวะภายในร่างกาย ลดผลข้างเคียงต่าง ๆ ของผู้ป่วยได้ ทั้งยังเพิ่มความสะดวกสบายและประหยัดเวลาในการรักษาของผู้ป่วย นอกจากนี้การรับรังสีน้อยลงยังส่งผลให้ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนของอวัยวะข้างเคียงอีกด้วย

ing

เครื่องฉายรังสี EDGE มิติใหม่ รังสีศัลยกรรม

รังสีศัลยกรรม คือ การรักษาก้อนเนื้องอก โดยการให้รังสีปริมาณสูงไปทำลายเซลล์มะเร็งได้อย่างถูกต้องตรงตามตำแหน่ง โดยใช้เวลาในการรักษาในระยะเวลาสั้นเพียง 1 – 5 ครั้งเท่านั้น (ปกติการรักษาด้วยรังสีรักษาทั่วไปจะใช้เวลาในการรักษานานหลายสัปดาห์) โดยลำรังสีจะไปทำลายเซลล์มะเร็งโดยตรง มีผลกระทบต่อเนื้อเยื่อปกติบริเวณข้างเคียงน้อย เมื่อเซลล์มะเร็งได้รับรังสีปริมาณสูง ทำให้ความสามารถในการเพิ่มจำนวนเซลล์มะเร็งถูกทำลายและตายไปในที่สุด การรักษาด้วยรังสีศัลยกรรมอาจใช้การฉายรังสีเพียงครั้งเดียว หรือหลายครั้ง (ส่วนใหญ่ไม่เกิน 5 ครั้ง) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และตำแหน่งของมะเร็ง ขณะเดียวกันรังสีศัลยกรรมอาจไม่เหมาะกับเนื้องอกหรือมะเร็งบอกชนิด